ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าประสงค์ : โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและการขนส่งโดยมุ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการเกษตรและขนส่งมวลชนสาธารณะ สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ชุมชน
กลยุทธ์ : มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามความจำเป็น พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร และพัฒนาระบบคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมที่สามารถก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาระบบบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่น เพื่อให้รู้ถึงความต้องการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง สามารถจัดลำดับความสำคัญ ความจำเป็นหรือความเร่งด่วน รวมถึงชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับได้อย่างชัดเจน มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถลดความซ้ำซ้อนของโครงการ สามารถกำหนดแนวทางในการเชื่อมโยงหรือการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้การตัดสินใจด้านงบประมาณเป็นไปอย่างมีส่วนร่วม มีเหตุผลโปร่งใส มีความพอประมาณและคุ้มค่าในการลงทุน
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรการศึกษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตร ในท้องถิ่นทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดค่าใช้จ่ายการกระจายสินค้าฯลฯ เช่นการจัดตั้งดูแลตลาดกลางและโครงสร้างพื้นฐานอื่น โรงสีชุมชน โรงปุ๋ยอินทรีย์โกดัง ห้องเย็น เป็นต้น การพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม รวมถึงการพัฒนาพลังงานทางเลือก
3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งด้านสาธารณูปโภคและด้านสาธารณูปการการดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการจัดการจราจรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ระบบประปา การวางและปรับปรุงผังเมืองควบคุมอาคาร
- การวางระบบบริการสาธารณะขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ให้มีเครือข่ายครอบคลุมทั้งจังหวัดการศึกษาและผลักดันให้เกิดเส้นทาง ระยะทาง รูปแบบการให้บริการสาธารณะขนส่งมวลชนที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเจริญเติบโตและแก้ไขปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง
- นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมและการขนส่งศึกษาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมและการขนส่งเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ความยั่งยืน
เป้าประสงค์ : ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาชุมชนทั้งในด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการบริการเพิ่มพูนทักษะในการผลิตและการตลาด ตลอดจนการพัฒนาในลักษณะของการรวมกลุ่ม (Cluster) ระหว่างท้องถิ่น
กลยุทธ์ : ส่งเสริมให้ประชาชนมี ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม พัฒนาเครือข่ายให้เกิดความร่วมมือในระหว่าง อปท. อย่างยั่งยืนในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงการเชื่อมโยงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมสร้างกระแสเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีทิศทางร่วมกันพัฒนากิจกรรมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม บริการการท่องเที่ยว ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน ธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ ร่วมพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ และขยายผลไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตและดำเนินธุรกิจ
- การสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่ม (Cluster) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินการแบบบูรณาการในลักษณะการรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อร่วมกันพัฒนายกระดับสินค้า/บริการตามศักยภาพของพื้นที่ให้ได้มาตรฐาน และมีการใช้เทคโนโลยี ระบบการควบคุมตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการรับประกันคุณภาพสินค้า มีการส่งเสริมการตลาดร่วมกันและก่อให้เกิดการแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ
- ส่งเสริมการเกษตรทฤษฏีใหม่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อเป็นฐาน การผลิตทางด้านการเกษตรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้แนวคิดการเกษตรทฤษฏีใหม่
- สร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจการส่งเสริมให้เกิดการออมในทุกระดับ การขยายธุรกิจบนพื้นฐานและความพร้อมของตน หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะเก็งกำไรและไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเชิงเศรษฐกิจอย่างแท้จริง การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันการประกอบธุรกิจ ในระบบได้อย่างเสรีและเป็นธรรม พัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ ตลอดจนภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาสินค้า บริการ และการตลาด ทางด้านการท่องเที่ยวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ : 1. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- มีกลไกการจัดการเพื่อป้องกันและลดข้อขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- นำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงสามารถพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ
กลยุทธ์ : 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกภาคส่วน
- ส่งเสริมสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
- การปลูกจิตสำนึก ให้ความรู้ประชาชน ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสนับสนุนและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึก และความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนเพื่อให้ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตและบริโภค เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และระบบการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยให้ชุมชนดำเนินการด้วยตนเองมากขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงการกำหนดขอบเขตพื้นที่ (Zoning) การกำหนดบทบัญญัติ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และส่งเสริมจัดตั้งเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมการศึกษาดูงาน การหาต้นแบบเพื่อเทียบเคียงวิธีการบริหารจัดการ ตลอดจนการคัดเลือกพื้นที่เพื่อทำการบ่มเพาะแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม สามารถใช้เป็นต้นแบบและแนวทางในการพัฒนาเพื่อทำการขยายผลอย่างต่อเนื่องสู่ท้องถิ่นอื่น
- การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์การพัฒนาและสนับสนุนเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงนิเวศในแต่ละท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ : ประชาชนมีจิตสำนึก ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีเอกลักษณ์อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ : มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงองค์รวม
แนวทางการพัฒนา
- การจัดการองค์ความรู้การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมการสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อการสืบค้นภูมิปัญญา/ อัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาระบบข้อมูล การวางแผน พัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณสถานแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ
- การส่งเสริมและเชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชนกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงระหว่างศิลปวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตคนท้องถิ่นในปัจจุบัน การจัดกิจกรรมและการสร้างกลุ่มส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาและคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงกิจกรรมทางศาสนา การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์งานศิลปะในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การส่งเสริมสถาปัตยกรรมท้องถิ่นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาปัตยกรรมต่าง ๆมีการออกแบบหรือก่อสร้าง โดยคงเอกลักษณ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนการเชื่อมโยงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองให้คงเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา
- การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการสนับสนุนเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสร้างจุดขายที่แตกต่างและยั่งยืน สามารถกระตุ้นให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจและมีส่วนร่วมในการสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเชียงใหม่สืบไป
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
เป้าประสงค์ : ประชาชนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้รับการสงเคราะห์อย่างทั่วถึงและเหมาะสม
กลยุทธ์ : พัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะ ภายใต้การขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต
แนวทางการพัฒนา
- การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเชื่อมโยง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือเครือข่าย องค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงในการกำหนดแนวทางหรือยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายหลักในการขับเคลื่อนซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชนและเครือข่ายธุรกิจเอกชนโดยมีเครือข่ายสนับสนุนที่จะประกอบด้วย เครือข่ายพัฒนาวิชาการและส่งเสริมการวิจัย เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเครือข่ายเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับประชาชนทุกระดับ เพื่อก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียน
- การส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนการพัฒนาให้มีระบบบริการสุขภาพทางด้านสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจของคนในชุมชน
- การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสการศึกษารวบรวมข้อมูลผู้ด้อยโอกาสในท้องถิ่นการกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์ผู้ที่ด้อยโอกาสและประชาชนผู้ประสบปัญหาสังคม ทั้งในด้านการศึกษาการพัฒนาอาชีพ การเข้าถึงปัจจัยการผลิต รวมทั้งการจัดการส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน การติดตามประเมินผลการสงเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถพึ่งพาตนเองได้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 : การจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
เป้าประสงค์ : ประชาชนมีความสามัคคีและมีวินัยสามารถดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีภูมิคุ้มกันจากอบายมุขและสิ่งเสพติด สามารถป้องกันและรับมือกับ สาธารณภัยต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ : มุ่งพัฒนากลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมอย่างรู้เท่าทันส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี ตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในชุมชนพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
แนวทางการพัฒนา
- กระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนการสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็น ปลูกจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชน หมู่บ้าน และเครือข่ายชุมชน อาสาสมัครและบุคลากรขององค์กร/หน่วยงานในการเฝ้าระวัง ประชาสัมพันธ์และรณรงค์แนวทางในป้องกันและการบรรเทาสาธารณภัย
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติดการร่วมมือและเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด ในการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขอย่างต่อเนื่องและจริงจังตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน สังคมอย่างเป็นระบบ
- เสริมสร้างประสิทธิภาพในการรักษาความสงบปลอดภัยแก่ชุมชนพัฒนาระบบและประสิทธิภาพในการรักษาความสงบปลอดภัยในชุมชนอย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยี และการพัฒนาเครือข่ายในการป้องกันและเฝ้าระวังภัยในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความปลอดภัย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 : การพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับมีการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กลยุทธ์ : สร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ ในการบริหารรัฐกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
แนวทางการพัฒนา
- การสร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐการปรับกระบวนทัศน์ ปลูกจิตสำนึก สร้างขวัญและกำลังใจของบุคลากรภาครัฐในทุกระดับตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐให้มีนวัตกรรมในการบริการจัดการการทำงานที่จะมุ่งสู่ประโยชน์สุขของประชาชน โดยประชาชนได้รับความพึงพอใจและสามารถสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
- การเสริมสร้างประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการการพัฒนาประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจ ลดการบังคับควบคุมโดยเน้นการบริการโดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชน เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ เพื่อลดภาระการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ตลอดจนพัฒนากลไกการกำกับดูแลที่เข้มแข็งและโปร่งใส โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นหลัก และดำเนินการควบคู่ไปกับการปลูกฝังจิตสำนึกข้าราชการให้ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมการรับผิดชอบต่อส่วนรวม การพร้อมรับการตรวจสอบจากประชาชน และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการเปิดเผยข้อมูลอย่างเคร่งครัด
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการและการตรวจสอบควบคุมการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีโอกาสในการเสนอแนะและกำหนดบทบัญญัติ รวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานประโยชน์ของภาคส่วนต่าง ๆ ให้เสมอภาคและมีความสมดุล ส่งเสริมและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในองค์กรภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนดและส่งเสริมให้มีการตรวจสอบจากทุกภาคส่วน
(12) นโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง
ปี พ.ศ.2554 เมื่อนายชลนที อนุรักษ์กสิกร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง 5 ด้าน ดังนี้
- นโยบายด้านการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน
- ก่อสร้างปรับปรุงบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น การก่อสร้างปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านในเขตตำบลม่อนจอง ให้มีน้ำสะอาดอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ และขุดลอกลำน้ำ ลำเหมือง คูคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อบาดาลอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งก่อสร้างปรับปรุงเหมืองฝายให้ใช้การอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค เช่น ขอขยายเขตไฟฟ้าการเกษตร ครัวเรือน และไฟฟ้าสาธารณะ (ไฟกิ่ง) ประปา โทรศัพท์ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนให้ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ
- ก่อสร้างปรับปรุงบำรุงรักษาถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย การเดินทางสัญจรไป – มา สะดวกสบาย ลดต้นทุนการผลิตขนส่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้น
- นโยบายด้านการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
- ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ พร้อมประสานงานและช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ทั่วถึงตามศักยภาพ
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านการศาสนา การกีฬา ด้านสุขภาพอนามัยและส่งเสริมสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์ พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดระเบียบชุมชน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนประสานงานกับผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. องค์กรภาครัฐและเอกชน ส.ส. อบจ. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาตำบล ม่อนจอง ให้ถูกจุดต่อไป
- ส่งเสริมสนับสนุนการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
- ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน คณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานหมู่บ้าน ระงับและป้องกันโรคติดต่อ ให้ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์
- นโยบายด้านการสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความสงบสุขของประชาชน
- ส่งเสริมสนับสนุนและจัดหาแหล่งทุน เพื่อช่วยเหลือการประกอบอาชีพของชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทุกกลุ่มอาชีพ ฯลฯ
- สนับสนุนประสานงานและผลักดันโครงการก่อสร้างตลาดกลาง เพื่อรองรับผลิตผลทางด้านเกษตรของชุมชนในตำบลม่อนจอง และชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะพริก มะเขือเทศ ฯลฯ เพื่อป้องกันพ่อค้าคนกลางกดราคาของเกษตรกร ติดต่อพ่อค้ามาซื้อโดยตรงกับเกษตรกร
- ส่งเสริมปรับปรุงกระบวนการผลิตมะเขือเทศ พริก โดยใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมี รวมทั้ง การแปรรูปให้ได้ตรงตามความต้องการของตลาด
- ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตสินค้าพื้นเมืองของตำบลม่อนจอง เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์จักสาน ฯลฯ
- นโยบายด้านดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณี
- ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงามให้คงอยู่สืบไป เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีบวชป่า ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ประเพณีปี๋ใหม่มูเซอ ฯลฯ
- ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์
- ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการอุปโภค - บริโภคและเพื่อการเกษตร พร้อมกับพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสำรวจพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกเตรียมความพร้อมของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยว (โฮมสเตย์ )
- นโยบายด้านการสร้างประสิทธิภาพความโปร่งใส เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมในการให้บริการ
- ส่งเสริมพัฒนาสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะผู้บริหาร ให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทั้งด้านการเมือง การบริหาร รวมทั้งกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้นำทุกระดับ
- ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ขององค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง โดยยึดหลัก คุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดซื้อจัดจ้าง โดยการแต่งตั้งตัวแทนชุมชน ร่วมเป็นกรรมการจัดทำเวทีประชาคม ให้ประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการประชุมสภาขององค์การบริหารส่วนตำบล และส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชน จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มองค์กรประชาชน จัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนของโครงการ ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
- เผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วม การเมืองการปกครองท้องถิ่นให้กับชุมชน หมู่บ้าน ให้ได้รับรับรู้ข่าวสารอย่างต่อเนื่องเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินงานของ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา บุคลากร กลุ่มองค์กรประชาชนต่าง ๆ ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง ให้ได้รับรู้ข้อมูลและทั่วถึง