พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมต้านยาเสพติด เน้นเศรษฐกิจพอเพียง  คุณภาพชีวิตและการศึกษา    ธรรมาภิบาลและประชาชนมีส่วนร่วม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์











คู่มือประชาชน

สำรวจความคิดเห็น

facebook

ระบบสถิติการเกิดอบัติเหตุ

ข่าวสารอาเซียน

ศูนย์ดำรงธรรม

ตรวจเช็คอีเมล

เข้าใช้งานระบบจัดการเว็บไซต์

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 16/06/2558
วันนี้
41
เมื่อวานนี้
87
เดือนนี้
0
เดือนที่แล้ว
3,083
ปีนี้
30,003
ปีที่แล้ว
32,964
ทั้งหมด
144,503
ไอพี ของคุณ
3.238.180.174
1
ความหมาย / หน้าที่ของ นายก หน้าที่ของสภา,องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนจอง,monjong.go.th

ความหมาย / หน้าที่ของ นายก หน้าที่ของสภา

นายก อบต. คือใคร มีที่มาอย่างไร มีหน้าที่อะไร 
และมีใครเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการบ้าง

นายก อบต. คือหัวหน้าผู้บริหาร อบต. เป็นควบคุมและรับผิดชอบการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต.

การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งของนายก อบต.

อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น : ดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้

ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ นายก อบต. ดังนี้

(1) รองนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน

(2) เลขานุการนายก อบต. : นายก อบต. สามารถแต่งตั้ง เลขานุการนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน

อำนาจหน้าที่ของ นายก อบต.

1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคน และจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี

2. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 59 ดังนี้

(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับทางราชการ 
(2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต. 
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต. วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต. 
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น

3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างและพนักงานจ้างของ อบต.

4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่มี่สิทธิออกเสียงลงคะแนน

5. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธาน อบต. หรือ สภา อบต. ถูกยุบเพราะว่าไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสภา อบต. ครั้งแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. หรือมีการประชุมแต่ไม่สามารถเลือกประธานสภา อบต.ได้ หากกรณีสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้ไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประสภา อบต. แล้วให้เลือกประธานสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภานใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต.

6. กรณีนายกปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจ้งแนะนำแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว: การกระทำของนายก อบต.ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต.

7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต.


สภา อบต. เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ อบต. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นชอบกิจการสำคัญของ อบต. โดยใช้มติของที่ประชุมสภา อบต. เป็นหลัก มีประธานสภา อบต. เป็นหัวหน้า

อำนาจหน้าที่ของสภา อบต. มีดังนี้

(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต. 
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ของ อบต. 
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ

มีใครบ้างในสภา อบต. และมีหน้าที่อย่างไร

(1) สมาชิกสภา อบต. (จำนวนตามโครงสร้าง อบต.) มีหน้าที่ดังนี้ 
- เข้าร่วมประชุมสภา อบต. อภิปรายแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา อบต. และลงมติในประเด็นต่างๆ 
- ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของสภา อบต. 
- เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. 
- ตั้งกระทู้ถามนายก อบต. หรือรองนายก อบต. อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ 
- เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป นายก อบต. โดยไม่มีการลงมติ ด้วยจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่ 
- ขอเปิดประชุมวิสามัญด้วยจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 
- หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด หรือฐานะผู้แทนประชาชนในหมู่บ้าน และ อบต. นั้น

(2) ประธานสภา อบต. 1 คน : เลือกจากสมาชิกสภา อบต. ให้นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา อบต. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต. 
ประธานสภา อบต. มีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินการกิจการอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
- ดำเนินกิจการของสภา อบต. ตามที่กฎหมายกำหนด 
- เป็นประธานของที่ประชุมสภา อบต. เว้นแต่ใขขณะที่เข้ากล่าวอภิปรายสนับสนุนหรือคัดค้านญัตติในที่ประชุมสภา อบต. 
- บังคับบัญชาการงานใน อบต. 
- รักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต. 
- เป็นผู้แทนสภา อบต. ในกิจการภายนอก 
- อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือตามกฎหมาย 
- กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น

(3) รองประธานสภา อบต. 1 คน : เลือกจากสมาชิกสภา อบต.ให้นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา อบต. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต. เช่นเดียวกับประธาน อบต. 
รองประธานสภา อบต. มีหน้าที่ช่วยประธานสภา อบต. ปฏิบัติการตามหน้าที่และกระทำกิจการตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย: ในกรณีไม่มีประธานสภา อบต. หรือประธานสภา อบต. ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้รองประธานสภา อบต. ปฏิบัติหน้าที่แทน

(4) เลขานุการสภา อบต. 1 คน: ซึ่งสภา อบต. เลือกจากปลัด อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. 
เลขานุการ อบต. มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้เลขานุการสภา อบต. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
- แจ้งนัดประชุมสภา อบต. ตามคำสั่งของประธานสภา อบต. 
- ชี้แจ้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือหนังสือส่งการ หรือ แนวทางปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของ อบต. ต่อที่ประชุมสภา อบต. 
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. จัดทำระเบียบวาระการประชุมสภา อบต. 
- เชิญประธานสภาชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่ 
- จัดทำรายงานการประชุมสภา อบต. 
- เก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร หรือเอกสารของสภา อบต. แต่จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภา อบต. 
- ช่วยประธานสภา อบต. ในการควบคุมการนับคะแนนเสียง 
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต.
- หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นหรือกระทำกิจการอื่นตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย

การปฏิบัติหน้าที่ของสภา อบต.

การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภา อบต. จะเกิดจากการประชุมสภา อบต. และมติของที่ประชุมสภา อบต. ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการประชุม ดังนี้

(1) สมัยประชุมสามัญสภา อบต. : ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ 
2 สมัย หรือหลายสมัยแล้วแต่สภา อบต. จะกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัยๆ ละ ไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ โดย้องกำหนดให้มีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์สมัยหนึ่งและในเดือนสิงหาคมสมัยหนึ่ง

(2) สมัยประชุมวิสามัญสภา อบต. : นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ อบต. ประธานสภา อบต. นายก อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. มีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่ สามารถทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ถ้าเห็นสมควรให้นายอำเภอเรียกประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ

01 ตุลาคม 2561

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (1 รายการ)